วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศิลาจารึก หลักที่ ๑

ศิลาจารึก หลักที่ ๑
ผู้แต่ง:  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 ประวัติ ผู้แต่ง: พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระราช โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และนาง เสือง ทรงมีพระเชษฐา พ่อขุนบานเมือง เมื่อตอนที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุได้ ๑๙พรรษาได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความ กล้าหาญในการศึกสงคราม ด้วยการทรงชนช้าง ชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สมเด็จพระราชบิดาจึงทรงพระราชทานพระนามให้ ว่า พระรามคำแหง ครั้น พอสมเด็จพระราชบิดา และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงฯก็ได้เด็จขึ้นเสวยราชย์ในเมือง สุโขทัยต่อมาได้ทรงขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางและปกครองบ้านเมืองอย่างร่ม เย็นเป็นสุขตลอดรัชกาล
เนื้อหา : ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มี ๓ ตอน คือ 
ตอนที่๑ นับตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ ถึง ๑๘ เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ ทรงใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนพระองค์ว่า กู เนื้อหาระบุพระนามของสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระราชมารดา สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระเกียรติประวัติในการรบกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด จนถึงสมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้วก็ทรงปฏิบัติ บำรุงสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชด้วยความจงรักภักดีพ่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสมเด็จสวรรคตพระองค์จึงทรงขึ้นรองราชย์สมบัติต่อมา 
ตอนที่ ๒ นับตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ ถึงด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ (สันนิษฐานกันว่าผู้แต่งฯ เป็นละคนกับ ตอนที่ ๑) เนื้อหาพรรณนาถึงเหตุการณ์บ้านเมืองและความเจริญรุ่งเรื่องในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่มีการค้าขายอย่างเสรีมีกฎมายมรดก มีระเบียบในการฟ้องร้องคดีศาล การร้องทุกข์ต่อพระเจ้าแผ่นดินโดยตรง การจัดสาธารณูปโภคสภาพภูมิศาสตร์ ของเมืองสุโขทัยและวิถีของคนไทยที่นิยมทำบุญถือศีลเพราะมีศรัทธามั่นในพระพุทธศนา
ตอนที่ ๓ นับตั้งแต่ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ ถึงด้านที่ ๔ บรรทัด สุดท้ายเนื้อความกล่าวถึงพระรากรณีกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาทิปีพ.ศ. ๑๘๓๕ ทรงโปรดใช้ช่างสกัดหินสร้างเป็นพระแท่นมนังคศิลาบาตรขึ้นไว้ที่กลางดงดาลไว้ให้ พระสงฆ์แสดงธรรมในวัดธรรมสวนะแก่ประชาชนส่วนวันธรรมพระองค์ทรงใช้เป็นบัลลังก์ประทับว่าราชการปี พ.ศ. ๑๘๒๖ กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยตามแบบที่ใช้จารึกบนหลักศิลานี้ รวม ทั้งสรรเสริญพระเกียรติคุณพ่อขุนรามฯอีกมากมายปัจจุบันนี้หลักศิลาจารึกตัว จริงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมมานในพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติกรุงเทพมหานคร
       เป็นร้อยแก้วเชิงบรรยายโวหาร สำหรับตอนที่นำมาเป็นบทเรียน เป็น ด้านที่๑(เฉพาะบรรทัดที่๑ถึง๑๘)ซึ่งเนื้อหาจะกล่าวถึงชีวประวัติของพ่อขุน รามฯอีกมากมายปัจจุบันนี้หลักศิลาจารึกตัวจริงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่ง ศิวโมกขพิมาน ในพิพิธพันธสถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร 
ลักษณะคำประพันธ์ :  เป็นร้อยแก้วเชิงบรรยายโวหาร สำหรับตอนที่นำมาเป็นบทเรียนนี้ เป็นด้านที่๑(เฉพาะบรรทัดที่๑ ถึง ๑๘ ) ซึ่งเนื้อหาจะกล่าวถึง อัตชีวประวัติของพ่อขุนรามฯ โดยพระองค์ทรงใช้ สรรพนามบุรุษที่๑กู และ ตู ” (เล่าพระประวัติโดยพระองค์เอง)ใช้คำไทยแท้เป็นส่วนใหญ่ ประโยคที่ใช้ก็สั้น ไม่ซับซ้อนในบางตอนอาจมีเสียงสัมผัส และมีการกล่าวซ้ำย้ำความให้กระจ่างชัด 
เนื้อเรื่องย่อ :  (เฉพาะด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ถึง ๑๘) 
เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ที่ทรงเล่าเอง) ความว่า 
      พ่อกูชื่อศรีอินทราทิย์ แม่กูชื่อนาง เสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคอน ผู้ชาย ๓ หญิงโสง พี่เผือผู้อายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก เมื่อกุขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปขุนสามชน หัวซ้ายขุนสามชนขับมา หัวขวาขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่าพายจแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเขาก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชนเมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปทีบ้านเมืองได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตายจึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม... 
ข้อคิดที่ได้รับจากเรื่อง
· ลูกที่ดีต้องมีความกตัญญูต่อบุพการีด้วยการปฏิบัติดูแลบำรุงเลี้ยงอย่างดี 
· พี่น้องกันควรมีความรักและการปกครองดองกันไว้ โดยเฉพาะน้องต้องให้ความเคารพพี่ 
· ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องมีความกล้าหาญกล้าตัดสินใจ 
· การป้องกันบ้านเมือง เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองหรือผู้นำ หากผู้นำเข้มแข็งและกล้าหาญบ้านเมืองก็อยู่รอดปลอดภัยและไพร่ฟ้าก็มีความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น