วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม 2555

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี(02/03/2555)


๑. เพิ่มหมวด ๑๖ มาตรา ๒๙๑/๑ ถึงมาตรา ๒๙๓/๑๗ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อยกร่างจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ แล้วนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้

๒. สภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิก ๒ ประเภท ประเภทแรกเป็น ส.ส.ร. จังหวัดมี ๗๗ คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนจังหวัดละ ๑ คน อีกประเภทเป็น ส.ส.ร. ผู้เชี่ยวชาญมีจำนวน ๒๒ คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชนจำนวนหกคน ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์จำนวนหกคน และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจสังคม หรือการร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสิบคน โดยให้สภาของสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาคเศรษฐกิจสังคม และองค์กรภาคเอกชน แต่ละแห่งคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามประเภทละสองคน และจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อของแต่ละประเภทส่งให้ประธานรัฐสภาภายในสิบห้าวัน นับแต่วันพ้นกำหนดวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประเภท เลือกตั้ง
ต่อจากนั้น ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนสิบห้าคน ทำการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบวัน เสร็จแล้วประธานรัฐสภาจัดทำบัญชีรายชื่อของบุคคลที่คณะกรรมการส่งมาแยกเป็น ประเภท  แต่ละบัญชีโดยให้เรียงรายชื่อตามลำดับอักษร และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาภายในสิบห้าวัน เพื่อให้รัฐสภาลงมติคัดเลือกผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ โดยการลงคะแนนลับ ให้รัฐสภาดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประเภทผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๒๒ คน ให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ

๓. ในส่วนของ ส.ส.ร. ประเภทเลือกตั้งจำนวน ๗๗ คน นั้น ให้มีการดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รัฐสภามีมติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้มีระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้งไม่เกินยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราช กฤษฎีกามีผลใช้บังคับ กำหนดวันเลือกตั้งไม่เกินสี่สิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาสมัครรับเลือก ตั้ง และต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

๔. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยอาจนำหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือก ตั้งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และเมื่อได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในสิบ ห้าวันนับแต่วันเลือกตั้ง โดยให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดในการเลือกตั้งแต่ละจังหวัดเป็นผู้ได้ รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของจังหวัดนั้น

๕. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยศึกษาหรือรับราชการอยู่ใน จังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมือง
ส่วนสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญประเภทผู้เชี่ยวชาญนั้น ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด และมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่จำกัดว่าต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดใด และสำหรับลักษณะต้องห้าม ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร และต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมือง แต่เป็นข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐได้

๖. ภายในสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครบจำนวน ให้มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้สมาชิกมาประชุมเป็นครั้งแรก

๗. สภาร่างรัฐธรรมนูญมีประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและรองประธานคนหนึ่งหรือ สองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมติของสภา ร่างรัฐธรรมนูญ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

๘. เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของประธานและรองประธานสภาร่าง รัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

๙. เงื่อนไขในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
๙.๑ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก
 ๙.๒ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญอาจนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เห็นว่ามีความเป็น ประชาธิปไตยสูง มาเป็นต้นแบบในการยกร่างก็ได้
๙.๓ การที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๙.๔ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคด้วย
๙.๕ ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะกระทำมิได้
๙.๖ ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามข้อ ๙.๕ ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป
๙.๗ วิธีการพิจารณาและจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ การประชุม การลงมติ การแต่งตั้งกรรมาธิการ และการดำเนินการของกรรมาธิการ การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่น เพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนี้ ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาโดยอนุโลม

๑๐. การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มี อยู่ของแต่ละสภา จึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาของสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของ สมาชิกแต่ละคน และเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชนอาจเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ

๑๑. เอกสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๓๐ และความคุ้มกันที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๑ ให้นำมาใช้บังคับกับการประชุมของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการ โดยอนุโลม

๑๒. เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้นำเสนอต่อประธานรัฐสภา เมื่อประธานรัฐสภาได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หากเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นมิได้มีลักษณะตามข้อ ๙.๕ ที่ต้องเสนอให้รัฐสภาวินิจฉัย ให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใน เจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติของ ประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นหรือไม่

๑๓. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติภายในไม่เกินหกสิบ วันแต่ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากประธาน รัฐสภา วันออกเสียงประชามติให้กำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๗.๐๐ น. หลักเกณฑ์และวิธรการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

๑๔. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการออกเสียงประชามติ ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันออกเสียงประชามติ หากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็น ชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวัน เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้
แต่ถ้าพระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบด้วย และพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วไม่พระราชทานคืนมา สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องปรึกษาร่างรัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้าสภาร่างรัฐธรรมนูญยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้ง หนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบ วัน ให้ประธานรัฐสภานำรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

๑๕. สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ในกรณีดังต่อไปนี้
๑๕.๑ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสมาชิกเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
๑๕.๒ สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาหนึ่ง ร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก
๑๕.๓ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้
๑๕.๔ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญตกไป ในกรณีที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือในกรณีที่คะแนนการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ

๑๖. ถ้าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญตกไป หรือการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จ เพราะเหตุสภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ในกรณีจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของ จำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเสนอญัตติต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภามีมติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ตามความในหมวดนี้อีกได้ การออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบของรัฐสภา ต้องได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสอง สภา ในกรณีดังกล่าวบุคคลที่เคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดเดิมจะเป็นสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญอีกไม่ได้

๑๗. ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของสภาร่างรัฐธรรมนูญ รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาหาข้อมูล และกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของสภาผู้แทนราษฎร

๑๘. ให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนี้ใช้บังคับ และให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน ๙๙ คน ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศิลาจารึก หลักที่ ๑

ศิลาจารึก หลักที่ ๑
ผู้แต่ง:  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 ประวัติ ผู้แต่ง: พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระราช โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และนาง เสือง ทรงมีพระเชษฐา พ่อขุนบานเมือง เมื่อตอนที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุได้ ๑๙พรรษาได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความ กล้าหาญในการศึกสงคราม ด้วยการทรงชนช้าง ชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สมเด็จพระราชบิดาจึงทรงพระราชทานพระนามให้ ว่า พระรามคำแหง ครั้น พอสมเด็จพระราชบิดา และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงฯก็ได้เด็จขึ้นเสวยราชย์ในเมือง สุโขทัยต่อมาได้ทรงขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางและปกครองบ้านเมืองอย่างร่ม เย็นเป็นสุขตลอดรัชกาล
เนื้อหา : ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มี ๓ ตอน คือ 
ตอนที่๑ นับตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ ถึง ๑๘ เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ ทรงใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนพระองค์ว่า กู เนื้อหาระบุพระนามของสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระราชมารดา สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระเกียรติประวัติในการรบกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด จนถึงสมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้วก็ทรงปฏิบัติ บำรุงสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชด้วยความจงรักภักดีพ่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสมเด็จสวรรคตพระองค์จึงทรงขึ้นรองราชย์สมบัติต่อมา 
ตอนที่ ๒ นับตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ ถึงด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ (สันนิษฐานกันว่าผู้แต่งฯ เป็นละคนกับ ตอนที่ ๑) เนื้อหาพรรณนาถึงเหตุการณ์บ้านเมืองและความเจริญรุ่งเรื่องในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่มีการค้าขายอย่างเสรีมีกฎมายมรดก มีระเบียบในการฟ้องร้องคดีศาล การร้องทุกข์ต่อพระเจ้าแผ่นดินโดยตรง การจัดสาธารณูปโภคสภาพภูมิศาสตร์ ของเมืองสุโขทัยและวิถีของคนไทยที่นิยมทำบุญถือศีลเพราะมีศรัทธามั่นในพระพุทธศนา
ตอนที่ ๓ นับตั้งแต่ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ ถึงด้านที่ ๔ บรรทัด สุดท้ายเนื้อความกล่าวถึงพระรากรณีกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาทิปีพ.ศ. ๑๘๓๕ ทรงโปรดใช้ช่างสกัดหินสร้างเป็นพระแท่นมนังคศิลาบาตรขึ้นไว้ที่กลางดงดาลไว้ให้ พระสงฆ์แสดงธรรมในวัดธรรมสวนะแก่ประชาชนส่วนวันธรรมพระองค์ทรงใช้เป็นบัลลังก์ประทับว่าราชการปี พ.ศ. ๑๘๒๖ กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยตามแบบที่ใช้จารึกบนหลักศิลานี้ รวม ทั้งสรรเสริญพระเกียรติคุณพ่อขุนรามฯอีกมากมายปัจจุบันนี้หลักศิลาจารึกตัว จริงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมมานในพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติกรุงเทพมหานคร
       เป็นร้อยแก้วเชิงบรรยายโวหาร สำหรับตอนที่นำมาเป็นบทเรียน เป็น ด้านที่๑(เฉพาะบรรทัดที่๑ถึง๑๘)ซึ่งเนื้อหาจะกล่าวถึงชีวประวัติของพ่อขุน รามฯอีกมากมายปัจจุบันนี้หลักศิลาจารึกตัวจริงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่ง ศิวโมกขพิมาน ในพิพิธพันธสถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร 
ลักษณะคำประพันธ์ :  เป็นร้อยแก้วเชิงบรรยายโวหาร สำหรับตอนที่นำมาเป็นบทเรียนนี้ เป็นด้านที่๑(เฉพาะบรรทัดที่๑ ถึง ๑๘ ) ซึ่งเนื้อหาจะกล่าวถึง อัตชีวประวัติของพ่อขุนรามฯ โดยพระองค์ทรงใช้ สรรพนามบุรุษที่๑กู และ ตู ” (เล่าพระประวัติโดยพระองค์เอง)ใช้คำไทยแท้เป็นส่วนใหญ่ ประโยคที่ใช้ก็สั้น ไม่ซับซ้อนในบางตอนอาจมีเสียงสัมผัส และมีการกล่าวซ้ำย้ำความให้กระจ่างชัด 
เนื้อเรื่องย่อ :  (เฉพาะด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ถึง ๑๘) 
เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ที่ทรงเล่าเอง) ความว่า 
      พ่อกูชื่อศรีอินทราทิย์ แม่กูชื่อนาง เสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคอน ผู้ชาย ๓ หญิงโสง พี่เผือผู้อายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก เมื่อกุขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปขุนสามชน หัวซ้ายขุนสามชนขับมา หัวขวาขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่าพายจแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเขาก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชนเมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปทีบ้านเมืองได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตายจึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม... 
ข้อคิดที่ได้รับจากเรื่อง
· ลูกที่ดีต้องมีความกตัญญูต่อบุพการีด้วยการปฏิบัติดูแลบำรุงเลี้ยงอย่างดี 
· พี่น้องกันควรมีความรักและการปกครองดองกันไว้ โดยเฉพาะน้องต้องให้ความเคารพพี่ 
· ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องมีความกล้าหาญกล้าตัดสินใจ 
· การป้องกันบ้านเมือง เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองหรือผู้นำ หากผู้นำเข้มแข็งและกล้าหาญบ้านเมืองก็อยู่รอดปลอดภัยและไพร่ฟ้าก็มีความ

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

ศิลาจารึก
           ศิลาจารึกเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ในด้านภาษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ และนิรุกติศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของเนื้อหาสาระ ถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ที่แสดงวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของจารึก ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ ขณะทรงผนวชได้เสด็จจาริกไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ทรงค้นพบศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ อันเป็นหลักลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ จากนั้นก็ได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของศิลาจารึกอีกหลายหลัก ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยสุโขทัย
           ศิลาจารึกที่สลักขึ้นในสมัยสุโขทัย ที่มีการชำระ และแปลแล้วนำมาพิมพ์รวบรวมไว้ใน ประชุมจารึกสยามภาคที่ ๑ พ.ศ.๒๔๖๗ มีจำนวน ๑๕ หลัก จากนั้นได้มีการศึกษาเพิ่มเติม และจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยมีหอสมุดแห่งชาติเป็นหน่วยหลักหลายครั้ง เฉพาะที่เป็นจารึกสมัยสุโขทัย ได้มีการรวบรวมจัดพิมพ์อีกในหนังสือจารึกสมัยสุโขทัย โดยกรมศิลปากร เนื่องในโอกาสฉลอง ๗๐๐ ปี ลายสือไทย พ.ศ.๒๕๒๖ ได้จัดกลุ่มจารึกสุโขทัยตามลักษณะของตัวอักษร จำแนกไว้เป็น ๕ กลุ่ม คือ
               -  จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัย
               -  จารึกที่ใช้อักษรขอมสุโขทัย
               -  จารึกที่ใช้อักษรไทยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรขอมสุโขทัย
               -  จารึกที่ใช้อักษรขอมขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรไทยสุโขทัย
               -  จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรธรรมล้านนา
           จากรึกสุโขทัยที่พบและอ่านแล้วมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ หลัก ที่สำคัญมี ดังนี้
           ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  ทำจากหินทรายแป้ง ลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่าทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๕ เซนติเมตร สูง ๑๑๑ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เรียกศิลาจารึกหลักนี้ว่า จารึกหลักที่ ๑ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
           เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ขณะทรงผนวชได้เสด็จจาริกหัวเมืองฝ่ายเหนือ ถึงเมืองเก่าสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึกหลักนี้พร้อมพระแท่นมนังคศิลาบาตร ณ โคกปราสาทร้าง จึงได้โปรดให้นำเข้ากรุงเทพ ฯ ในขั้นแรกเก็บรักษาไว้ที่วัดราชาธิวาส เพราะทรงประทับอยู่ ณ ที่วัดนั้น ต่อมาเมื่อทรงย้ายไปประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร จึงโปรดให้ย้ายไปไว้ที่วัดบวร ฯ
           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงอ่านศิลาจารึกหลักนี้ได้เป็นพระองค์แรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ และหอสมุดวชิรญาณได้จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗
           เมื่อไม่นานมานี้ได้มีผู้ที่ถูกเรียกกันว่าเป็นนักวิชาการบางคน และพรรคพวกที่มีความเห็นอย่างเดียวกัน บางพวกไม่เชื่อว่าเป็นศิลาจารึกที่พ่อขุนรามคำแหงสร้างขึ้นไว้เมื่อประมาณ เจ็ดร้อยปีก่อน จึงได้มีการพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ตามที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเสนอแนะไว้ในคราวประชุมใหญ่ ฯ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ โดยมอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ ประจำกรมศิลปากร และกรมทรัพยากรธรณี ทำการวิจัยเรื่อง การพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ โดยนำศิลาจารึกที่ทำด้วยหินทรายแป้ง ชนิดเดียวกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ และถูกทิ้งกรำแดดกรำฝน คือศิลาจารึกวัดพระบรมธาตุนครชุม เมืองกำแพงเพชร (จารึกหลักที่ ๓) ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ (จารึกหลักที่ ๔๕) พระแท่นมนังคศิลาบาตร และจารึกชีผ้าขาวเพสสันดรวัดข้าวสารมาเปรียบเทียบกัน ผู้วิจัยได้ใช้แว่นขยายรังสีอัลตร้าไวโอเลต และรังสีอินฟราเรด กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจพิสูจน์ เมื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์หลาย ๆ จุดบนตัวอย่างแต่ละตัวอย่างแล้ว หาค่าเฉลี่ยพบว่า ความแตกต่างขององค์ประกอบที่ผิวกับส่วนที่อยู่ข้างในของศิลาจารึกหลักที่ ๑ หลักที่ ๓ และหลักที่ ๔๕ มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน จึงสรุปผลการพิสูจน์ว่า
           "ผลปรากฏว่าผิวของหินตรงร่องที่เกิดจากการจารึกตัวอักษรมีปริมาณแคลไซด์ ลดลงมากใกล้เคียงกับผิวส่วนอื่น ๆ ของศิลาจารึกหลักที่ ๑ จนสามารถมองเห็นเป็นชั้นที่มีความแตกต่างได้ชัดเจน แสดงว่าเป็นการจารึกในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันกับการสกัดก้อนหินออกมาเป็นแท่งแล้วขัดผิวให้เรียบ มิใช่เป็นการนำแท่งหินที่ขัดผิวไว้เรียบร้อยในสมัยสุโขทัย แล้วนำมาจารึกขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ "
           จากความจริงที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว แสดงว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้ผ่านกระบวนการสึกกร่อนผุสลายมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ใกล้เคียงกับศิลาจารึก หลักที่ ๓ หลักที่ ๔๕ และหลักที่กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสัดร จึงเป็นอันยุติว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นของดั้งเดิม มิใช่ทำขึ้นใหม่ อย่างที่กลุ่มคนบางจำพวกยกเป็นประเด็นขึ้นมา
                    สาระสำคัญของศิลาจารึกหลักที่ ๑ เบื้องต้นเป็นการบอกเล่า  พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งทรงบอกเล่าด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนถึงขึ้นครองราชย์ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย และวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยสุโขทัย ที่อยู่ร่วมกันด้วยน้ำใจไมตรี เคารพในสิทธิเสรีภาพของกันและกัน ความมีใจบุญสุนทาน เอื้ออาทรกัน ให้ทานและรักษาศีลกันเป็นประจำ
           ในจารึกให้ข้อมูลว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น ในปีมหาศักราช ๑๒๐๕ ซึ่งตรงกับ ปี พ.ศ.๑๘๒๖ ต่อมาในปี มหาศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ.๑๘๓๕) พ่อขุนรามคำแหงทรงให้ช่างนำหินทรายแป้งมาทำพระแท่นชื่อ พระแท่นมนังคศิลาบาตร ตั้งไว้ที่กลางดงตาล ในวันพระแปดค่ำ สิบห้าค่ำ จะนิมนต์พระเถระขึ้นนั่งบนพระแท่นแล้วแสดงธรรมให้ลูกจ้าวลูกขุนไพร่ฟ้าข้าไท ท่วยปั่ง ท่วยนางทั้งหลายได้สดับตรับฟัง ในวันธรรมดาพ่อขุนรามคำแหง ทรงขึ้นประทับนั่งว่าราชการงานเมือง และตัดสินคดีความที่ไพร่ฟ้าหน้าปกมาร้องทุกข์ ทรงโปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ เพื่อให้ผู้ที่มีความทุกข์ร้อนมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์
           ด้านการพระพุทธศาสนา พ่อขุนรามคำแหงทรงอาราธนาพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์ จากนครศรีธรรมราชมาร่วมกับภิกษุสงฆ์ฝ่ายเถรวาทเดิม ผู้สืบทอดมาแต่พระโสนะเถระ และพระอุตรเถระให้มาอบรมสั่งสอนชาวสุโขทัย ปรากฏว่าพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสีอย่างชัดเจน มีการตั้งสมณศักดิ์เป็นปู่ครู เถระ มหาเถระ แก่พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งในทางปกครอง คนสุโขทัยในสมัยนั้น จึงทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน โดยวันธรรมดารักษาศีลห้า ในวันธรรมสวนะ หรือวันพระรักษาศีลแปด หรือศีลอุโบสถตามแต่ศรัทธา
           ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง มีงานนักขัตฤกษ์เผาเทียนเล่นไฟ อันเป็นที่มาของงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของชาวสุโขทัย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
           ด้านการปกครอง จารึกไว้ว่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันออกตั้งแต่สรลวงสองแคว (พิษณุโลก) เลย จากลุมบาจายสะคาไปถึงเวียงจันทน์ ทิศใต้ตั้งแต่สุพรรณบุรี ราชบุรี เลยนครศรีธรรมราชไปสุดแผ่นดินจดทะเลมหาสมุทร ทิศตะวันตกเลยเมืองฉอด ไปถึงเมืองหงสาวดีมีมหาสมุทรเป็นแดน ทิศเหนือถึงแพร่ น่าน ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองหลวงพระบาง

           ศิลาจารึกวัดศรีชุม  เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำด้วยหินดินดานเป็นรูปใบเสมา กว้าง ๖๗ เซนติเมตร สูง ๒๗๕ เซนติเมตร หนา ๘ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย มี ๑๐๗ บรรทัด ด้านที่สองมี ๙๕ บรรทัด มีอายุประมาณ ปี พ.ศ.๑๘๘๐ - ๑๙๑๐ นายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ เมื่อครั้งเป็นที่หลวงสโมสรพลการ พบที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
           สาระสำคัญของจารึกหลักนี้ สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามี เป็นเจ้าได้ให้ศิษย์ของท่าน จารทำบอกเล่าให้เราให้ทราบเรื่องของคนไทยสมัยก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงเล่าไว้ว่า ท่านเกิดในนครสรลางสองแคว (พิษณุโลก) เป็นโอรสพระยาคำแหงพระราม เป็นหลานปู่พ่อขุนนาวนำถุม หรือพระยาศรีนาวนำถุม ซึ่งเสวยราชย์ในนครสองอัน อันหนึ่งชื่อ นครสุโขไท อีกอันหนึ่งชื่อ นครสรีเสชนาไล (ศรีสัชนาลัย) ภายหลังประทับอยู่ที่นครสุโขทัยแห่งเดียว ส่วนนครศรีสัชนาลัยนั้นทรงตั้งขุนยี่ คือ อุปราชปกครอง โอรสองค์โตชื่อ ขุนผาเมือง ให้ไปครองเมืองราด เมืองลุม เป็นราชบุตรเขยของผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ (พระเจ้าชัยวรมันที่แปด) และดำรงตำแหน่งยุวราชแห่งศรีโสธรปุระด้วย โอรสอีกองค์หนึ่งชื่อพระยาคำแหงพระราม (พระบิดาสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ) ให้ครองนครสรลวงสองแคว
           เมื่อสิ้นพ่อขุนนาวนำถุมแล้ว ขอมสบาดโขลนลำพง ยึดอำนาจการปกครอง พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งดำรงตำแหน่งขุนยี่ครองนครศรีสัชนาลัย จึงขึ้นไปเมืองบางยาง ได้รวบรวมพลร่วมกับพ่อขุนผาเมืองผู้เป็นสหาย โดยจัดทัพแยกกันเป็นสองทาง ขุนบางกลางหาวยกกำลังเข้ายึดศรีสัชนาลัยคืนได้แล้ว ก็นำกำลังมารวมกับกำลังของขุนผาเมืองที่เมืองบางขลัง แต่แต่งกลอุบายให้ขอมสบาดโขลนลำพงยกกำลังไปรบกับขุนบางกลางหาว แล้วขุนผาเมืองก็ยกกำลังเข้ายึดสุโขทัยได้ ขอมสบาดโขลนลำพงเสียรู้แตกกลับไป
           ขุนผาเมืองเชิญขุนบางกลางหาวเข้าเมืองสุโขทัย แล้วอภิเษกให้ครองเมืองสุโขทัย พร้อมทั้งให้นามเกียรติของตนที่ได้จากผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระว่า ศรีอินทรบดินทราทิตย์ ขุนบางกลางหาวจึงมีพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
           สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ ได้เล่าเรื่องของท่านเองตั้งแต่เยาว์จนถึงหนุ่ม ได้ออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระยาคำแหงพระรามผู้เป็นบิดา ครั้งสุดท้ายรบชนะขุนจัง แล้วมองเห็นความทุกข์ความไม่เที่ยงในโลกีย์วิสัย จึงสละสมบัติออกบวชแล้วเดินธุดงค์ไปเที่ยวทุกแห่ง เข้าไปสู่อินเดียตอนใต้ แล้วไปถึงลังกาทวีป พบเห็นมหิยังคณะมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ปรักหักพังเกิดศรัทธา จึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อพระองค์ได้กระทำสักการบูชาพระมหาธาตุเจดีย์ ก็เกิดปาฏิหาริย์เป็นที่ประจักษ์แก่พระองค์และชาวสิงหล พระองค์จึงได้รับการยกย่องเทิดทูนจากชาวสิงหล สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีศรัทธา ฯ พระองค์ประทับอยู่ที่ลังกาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงเดินทางกลับสุโขทัย และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิมาด้วย เมื่อมาถึงสุโขทัยก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และกิ่งพระศรีมหาโพธิ ประดิษฐาน ณ นครสุโขทัย บางฉลัง ศรีสัชนาไลย เพื่อให้เป็นเมืองธรรมจึงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ สร้างพิหารเจ้าอาวาส สร้างพระพุทธรูปอันงามพิจิตร
           ท่านได้ไปเที่ยวโปรดสัตว์ ไปพบพระมหาธาตุเจดีย์ปรักหักพังอยู่กึ่งกลางนครพระกริส จึงอธิษฐานบารมีจนพบแหล่งปูน ท่านได้นำมาก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ จากเดิมที่สูง ๙๕ วาไม้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วได้ความสูง ๑๐๒ วา พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ขอมเรียกว่า พระธม ส่วนปูนที่เหลือท่านได้นำไปซ่อมแซมพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก

           ศิลาจารึกนครชุม  เรียกว่า จารึกหลักที่ ๓ ทำด้วยหินทรายแป้งเป็นรูปใบเสมา กว้าง ๔๗ เซนติเมตร สูง ๑๙๓ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทยด้านที่หนึ่งมี ๗๘ บรรทัด ด้านที่สองมี ๕๘ บรรทัด สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบที่วัดบรมธาตุนครชุม เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๔ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ
           สาระสำคัญของจารึกหลักนี้ บอกให้ทราบในเบื้องต้นว่า พระยาลือไทยโอรสพระยาเลอไทย พระนัดดาพระยารามราช เสวยราชที่เมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐ เมื่อเสวยราชย์แล้ว ท้าวพระยาทั้งหลายแต่งกระยาดงวาย ของฝากหมากปลามาไหว้อันยัดยัญอภิเษก เป็นท้าวเป็นพระญา ชื่อ ศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช ทรงได้พระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิ จากลังกาทวีปใน ปี พ.ศ.๑๙๐๐ จึงทรงนำไปประดิษฐานในเมืองนครชุม และทรงจารึกไว้ว่า "...ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุ และพระศรีมหาโพธินี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล..."
           พระมหาธรรมราชาลิไททรงเชื่อว่าพระพุทธศาสนา จะมีอายุดำรงอยู่ในโลกนี้ได้ห้าพันปี จึงทรงจารึกไว้ว่า "...ผิมีคนมาถามศาสนาพระเป็นเจ้ายังเท่าใดจักสิ้นอั้นให้แก่ว่าดังนี้ แต่ปีอันสถาปนาพระมหาธาตุนี้เมื่อหน้าได้สามพันเก้าสิบเก้าปีจึงจักสิ้นพระศาสนาพระเป็นเจ้า..." และยังได้ตรัสถึงสัทธรรมอันตรธานห้าประการ คือ ประมาณพระพุทธศาสนายุกาลได้ ๑๙๙๙ ปี พระไตรปิฎกจักหาย หาคนรู้แท้มิได้ มีคนรู้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น พระธรรมเทศนามหาชาติหาคนสวดมิได้ ชาดกมีต้นหาปลายมิได้ พระอภิธรรมนั้น พระปัฏฐานและพระยมกหายไปก่อน เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๒๙๙๙ ปี "...ฝูงภิกษุสงฆ์จำศีลคงสิกขาบทสี่อันยังมีสิกขาบทอันหนักหนาหามิได้เลย " เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๓๙๙๙ "...ฝูงชีจักทรงผ้าจีวรหามิได้เลย เท่ายังมีผ้าเหลืองน้อยหนึ่งเหน็บใบหู และรู้จักศาสนาพระเป็นเจ้าดายุ..." เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๔๙๙๙ ปี "...อันว่าจักรู้จักผ้าจีวรจักรู้จักสมณะน้อยหนึ่งหามิได้เลย..." เมื่อสิ้นอายุพระศาสนานั้นทรงพรรณาไว้ว่า
           "...เมื่อปีอันจักสิ้นศาสนา พระพุทธเป็นเจ้าที่สุดทั้งหลายอั้น ปีชวด เดือนหก บูรณมี วันเสาร์  วันไทยวันระรายสันวันไพสาขฤกษ์ เถิงเมื่อวันดังนั้น แต่พระธาตุทั้งหลายอันมีในแผ่นดินนี้ก็ดี ในเทพโลกก็ดี ในนาคโลกก็ดี เหาะไปในกลางหาว และไปประชุมกันในลังกาทวีป แล้วจักเหาะไปอยู่ในต้นพระศรีมหาโพธิ ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่สรรเพชญตญาณ เป็นพระพุทธแต่ก่อนอั้น จึงจักกาลไฟไหม้พระธาตุทั้งอั้นสิ้นแล เปลวไฟพลุ่งขึ้นคุงพรหมโลกศาสนาพระพุทธจักสิ้น ในวันดังกล่าวอั้นแล "

           ศิลาจารึกวัดป่าม่วง  เป็นภาษาไทยสองหลัก เป็นภาษาบาลีหนึ่งหลัก
               จารึกภาษาไทยหลักที่ ๑  เรียกว่า จารึกหลักที่ ๕ ทำด้วยหินทราย หลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๒๘ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๒๙ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๑๕ เซนติเมตร พระยาโบราณราชธานินทร (พร  เดชะคุปต์) พบที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
           ข้อความที่จารึกบอกให้ทราบว่าบริเวณวัดป่ามะม่วง เป็นรมณียสถานที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงปลูกมะม่วงไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และเป็นพัทธสีมาที่ทรงผนวชของสมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ก่อนถึงกาลทรงผนวชได้กล่าวถึงอดีตว่า เมื่อพรญาลือไท ผู้รู้พระไตรปิฎกขึ้นเสวยราชย์ ท้าวพระยาทั้งหลายอภิเษกขึ้นชื่อ ศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช เสวยราชย์ชอบด้วยทศพิธราชธรรม ในปี พ.ศ.๑๙๐๔ ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชลังกาวงศ์ จากนครพันมาจำพรรษา ณ กรุงสุโขทัย ทรงหล่อพระพุทธรูปด้วยเนื้อทองสำริดองค์ใหญ่ ประดิษฐานด้านตะวันออกองค์มหาธาตุเจดีย์กลางเมืองสุโขทัย เมื่อออกพรรษาแล้วทรงสมาทานทศศีลเป็นดาบศ... หน้าพระพุทธรูปทอง อันประดิษฐานไว้เหนือราชมณเฑียร อาราธนาพระมหาสามีพร้อมคณะสงฆ์ขึ้นสู่ราชมณเฑียร ทรงบรรพชาเป็นสามเณร แล้วเสด็จไปทรงผนวช ณ พัทธสีมาวัดป่ามะม่วงในที่สุด
               จารึกภาษาไทยหลักที่ ๒  เรียกว่า จารึกหลักที่ ๗ ทำด้วยหินทรายแปร หลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๒๘ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๑๒.๕ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๓๒ เซนติเมตร พระยารามราชภักดี (ใหญ่  ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พบที่วัดป่ามะม่วง เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
           จากรึกหลักนี้ชำรุดมาก ด้านที่หนึ่งกับด้านที่สามอ่านจับความไม่ได้ ด้านที่สองกับด้านที่สี่พออ่านได้บ้าง เป็นการจารึกเรื่องราวของการสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ในป่ามะม่วง เช่น กุฎี พิหาร สีมากระลาอุโบสถ และการทรงผนวชของสมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช
               จารึกภาษาเขมร  เรียกว่า จารึกหลักที่ ๔ ทำด้วยหินแปร เป็นหลักสี่เหลี่ยมกระโจม หรือทรงยอ กว้าง ๓๐ เซนติเมตร สูง ๒๐๐ เซนติเมตร หนา ๒๙ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบที่โคกปราสาทร้างเมื่อคราวเสด็จถึงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ จารึกด้วยอักษรไทย ภาษาเขมร เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ ภายในหอสมุดแห่งชาติพระนคร
           ข้อความในจารึกเป็นเรื่องราวคล้ายจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาไทยหลักที่หนึ่ง คือ พระยาลิไทยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสามีสังฆราช จากนครพันมาสุโขทัย เพื่อทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในการทรงผนวชของพระองค์ และเล่าเรื่องพระยาลิไทย ยกพลจากศรีสัชนาลัยมายึดสุโขทัยขึ้นเสวยราชย์ตามสิทธิอันชอบธรรม
               จากรึกภาษาบาลี  เรียกว่า จารึกหลักที่ ๖ ทำด้วยหินแปรรูปสี่เหลี่ยมทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๓ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๒๗ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๓๐ เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลีเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ พระยารามราชภักดี (ใหญ่  ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พบที่วัดป่ามะม่วง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
           ข้อความที่จารึกเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสามีสังฆราช พระอุปัชฌาย์ของพระมหาธรรมราชาลิไทย มีข้อความสรรเสริญพระมหาธรรมราชา ที่ทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า ในพระพุทธศาสนา

            ศิลาจารึกวัดอโสการาม  เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ ทำด้วยหินแปร เป็นแผ่นรูปใบเสมา กว้าง ๕๔ เซนติเมตร สูง ๑๓๔ เซนติเมตร หนา ๑๕ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งมี ๔๗ บรรทัด จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่สองมี ๕๑ บรรทัด จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๒ กองโบราณคดี กรมศิลปากรพบที่วัดอโสการามเมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติพระนคร
           ข้อความในจารึกมีว่า สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์อัครราชมเหสีเทพธรณีโลกรัตน... เป็นชายาแด่สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช กอร์ปด้วยปัญจพิธกัลยาณีมีศีลพระ...

            ศิลาจารึกวัดบูรพาราม  เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๒๘๖ ทำด้วยหินชนวนสีเขียว รูปใบเสมา ส่วนล่างชำรุดหักหาย มีขนาดกว้าง ๕๙ เซนติเมตร สูง ๑๔๖ เซนติเมตร หนา ๑๒ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งมี ๕๕ บรรทัด จารึกด้วยอักษรสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่สองมี ๕๖ บรรทัด จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕ พระครูปลัดสนธิ  จิตฺตปญฺโญ วัดศาลาครืน เขตจอมทอง กรุงเทพ ฯ ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ ซึ่งได้พระราชทานให้กรมศิลปากรจัดแสดงเพื่อการศึกษา ณ อาคารหอสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ พระนคร
           จารึกวัดบูรพารามระบุว่า สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์อัครราชมหิดิเทพยธรณีดิลกรัตนบพิตร เป็นเจ้า ผู้เป็นบาทบริจาริการัตนชายา แด่สมเด็จพระมหาธรรมราชา กอร์ปด้วยปัญจพิธกัลยาณี มีศิลพิริยะปรีชา...
           จารึกวัดบูรพารามบอกเล่าพระราชประวัติ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชสามี สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ประสูติจากพระครรภ์ สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๑๑ ทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๖ ปี ได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๙ และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๑ ในปี พ.ศ.๑๙๕๕ สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ จึงทรงสร้างวัดบูรพาราม ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
           ในจารึกหลักนี้ สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงระบุสายสัมพันธ์ราชสกุล ตามลำดับพระราชอิสริยยศ คือ
               -  สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา
               -  สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา
               -  สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์
               -  สมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
               -  ศรีธรรมาโศกราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
           การสร้างวัด ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และการทำบุญต่าง ๆ นั้น สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงอุทิศแด่สมเด็จปู่พระญา พ่อออก แม่ออก สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระศรีธรรมราชมารดา และทรงอธิษฐานว่า ขอให้ได้เกิดเป็นผู้ชายในอนาคตกาล ขอให้ได้สดับตรับฟังธรรมอันประเสริฐของพระพุทธเมตไตรย ขอพระพุทธเมตไตรยดำรัสสรรเสริญพระนางท่ามกลางพุทธบริษัท ขออย่าให้ผู้อื่นเทียมทันพระนางด้วยบุญสมภารด้วยรูป ด้วยยศ ด้วยสมบัติในทุกภพทุกชาติไป
           นอกจากศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีศิลาจารึกสำคัญ ๆ ของสุโขทัยที่ให้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัยในอดีตอีกมากมาย เช่น ศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ จารึกวัดพระยืน จารึกวัดสรศักดิ์ จารึกกฎหมายลักษณะโจร จารึกปู่สบถ จารึกวัดเขากบ จารึกวัดเขมา จารึกวัดป่าแดง จารึกพระธรรมกาย จารึกพระอภิธรรม จารึกวัดตาเถรขึ้หนัง จารึกวัดกำแพงงาม จารึกวัดพระเสด็จ จารึกนายศรีโยธาราชออกบวช จารึกภาพชาดกในอุโมงค์วัดศรีชุม ๔๘ ภาพ กับจารึกอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นหลักฐานสำคัญของชาติไทย ให้รู้ว่าไทยเป็นประเทศเอกราชมีเอกลักษณ์ของตนเอง และเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นติดต่อกันมานานไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปีมาแล้ว
 คำอ่านหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง 
 ด้านที่ ๑
               พ่อกู ชื่อศรีอินทราทิตย์  แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้ญีงโสง  พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยักเล็ก เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้ สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู  หนีญญ่ายพายจแจ๋น  กูบ่หนี  กูขี่ช้างเบกพล  กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมือง  แพ้  ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชนเมื่อชั่วพ่อกู  กูบำเรอแก่พ่อกู  กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู  กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทองกูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพ่อกู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใคร่จักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยซื้อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใครพีน เห็นสินท่านบ่ใครเดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือก ข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี ในปากประตูมีกระดิ่งอันณื่งแขวนไว ้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้
 
 ด้านที่ ๒
               ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพยสี ใสกินดี ... ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร ได้สามพันสี่ร้อยวา คนในเมืองสุโขทันนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง  ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน  ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน เดือนณื่งจิ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัติกฐินเถืงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียง กันแต่อญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงดํกลองด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน  เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ มีดั่งจักแตก กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหาเถร เบื้องตะวันตก เมืองสุโขทัยนี้ มีอไรญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำ โอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตรหลวก กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณื่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารศอันณื่ง ลุกยืน เบื้องตะวันโอกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดังแกส้ 

ด้านที่ ๓
               (งแต่)ง เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรดีภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย ๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ชั่งพันขดานหิน ตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับ เดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู  เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจำศีล ผิใช่วันสูดธรรม พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดานหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง ครั้นวันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยาง เที้ยรย่อมทองงา... (ซ้าย) ขวา ชื่อรูจาครี พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นขี่ไปนบพระ (เถิง) อรัญญิกแล้วเข้ามา จารึกอันณื่ง มีในเมืองชเลียง สถาบกไว้ ด้วยพระศรีรัตนธาตุ จารึกอันณื่ง มีในถ้ำรัตนธาร ในกลวงป่าตาลนี้ มีศาลาสองอัน อันณื่งชื่อศาลาพระมาส อันณื่งชื่อพุทธศานา ขดานหินนี้ ชื่อมนังศิลาบาตร สถาบกไว้นี่ จึ่งทั้งหลายเห็น 

ด้านที่ ๔
               พ่อขุนพระรามคำแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นขุนในเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ทั้งมากกาวลาว แลไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฎ... ไทยชาวอูชาวของมาออก ๑๒๐๗ ศกปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัชชนาลัยก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕  ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ พ่อขุนรามคำแหงนั้นหา เป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอนไทยทั้งหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทยด้วย รู้ด้วยหลวก ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะ ด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้ อาจปราบฝูงข้าเสีก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอด สรลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝั่งของเถีงเวียงจันทน์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้(อ)งหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพรชบุรี ศรีธรรมราช  ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น  หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน   เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน... เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว ปลูกเลี้ยง ฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน