วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม 2555

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี(02/03/2555)


๑. เพิ่มหมวด ๑๖ มาตรา ๒๙๑/๑ ถึงมาตรา ๒๙๓/๑๗ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อยกร่างจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ แล้วนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้

๒. สภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิก ๒ ประเภท ประเภทแรกเป็น ส.ส.ร. จังหวัดมี ๗๗ คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนจังหวัดละ ๑ คน อีกประเภทเป็น ส.ส.ร. ผู้เชี่ยวชาญมีจำนวน ๒๒ คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชนจำนวนหกคน ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์จำนวนหกคน และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจสังคม หรือการร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสิบคน โดยให้สภาของสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาคเศรษฐกิจสังคม และองค์กรภาคเอกชน แต่ละแห่งคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามประเภทละสองคน และจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อของแต่ละประเภทส่งให้ประธานรัฐสภาภายในสิบห้าวัน นับแต่วันพ้นกำหนดวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประเภท เลือกตั้ง
ต่อจากนั้น ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนสิบห้าคน ทำการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบวัน เสร็จแล้วประธานรัฐสภาจัดทำบัญชีรายชื่อของบุคคลที่คณะกรรมการส่งมาแยกเป็น ประเภท  แต่ละบัญชีโดยให้เรียงรายชื่อตามลำดับอักษร และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาภายในสิบห้าวัน เพื่อให้รัฐสภาลงมติคัดเลือกผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ โดยการลงคะแนนลับ ให้รัฐสภาดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประเภทผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๒๒ คน ให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ

๓. ในส่วนของ ส.ส.ร. ประเภทเลือกตั้งจำนวน ๗๗ คน นั้น ให้มีการดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รัฐสภามีมติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้มีระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้งไม่เกินยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราช กฤษฎีกามีผลใช้บังคับ กำหนดวันเลือกตั้งไม่เกินสี่สิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาสมัครรับเลือก ตั้ง และต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

๔. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยอาจนำหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือก ตั้งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และเมื่อได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในสิบ ห้าวันนับแต่วันเลือกตั้ง โดยให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดในการเลือกตั้งแต่ละจังหวัดเป็นผู้ได้ รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของจังหวัดนั้น

๕. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยศึกษาหรือรับราชการอยู่ใน จังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมือง
ส่วนสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญประเภทผู้เชี่ยวชาญนั้น ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด และมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่จำกัดว่าต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดใด และสำหรับลักษณะต้องห้าม ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร และต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมือง แต่เป็นข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐได้

๖. ภายในสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครบจำนวน ให้มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้สมาชิกมาประชุมเป็นครั้งแรก

๗. สภาร่างรัฐธรรมนูญมีประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและรองประธานคนหนึ่งหรือ สองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมติของสภา ร่างรัฐธรรมนูญ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

๘. เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของประธานและรองประธานสภาร่าง รัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

๙. เงื่อนไขในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
๙.๑ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก
 ๙.๒ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญอาจนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เห็นว่ามีความเป็น ประชาธิปไตยสูง มาเป็นต้นแบบในการยกร่างก็ได้
๙.๓ การที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๙.๔ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคด้วย
๙.๕ ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะกระทำมิได้
๙.๖ ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามข้อ ๙.๕ ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป
๙.๗ วิธีการพิจารณาและจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ การประชุม การลงมติ การแต่งตั้งกรรมาธิการ และการดำเนินการของกรรมาธิการ การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่น เพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนี้ ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาโดยอนุโลม

๑๐. การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มี อยู่ของแต่ละสภา จึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาของสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของ สมาชิกแต่ละคน และเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชนอาจเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ

๑๑. เอกสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๓๐ และความคุ้มกันที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๑ ให้นำมาใช้บังคับกับการประชุมของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการ โดยอนุโลม

๑๒. เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้นำเสนอต่อประธานรัฐสภา เมื่อประธานรัฐสภาได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หากเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นมิได้มีลักษณะตามข้อ ๙.๕ ที่ต้องเสนอให้รัฐสภาวินิจฉัย ให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใน เจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติของ ประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นหรือไม่

๑๓. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติภายในไม่เกินหกสิบ วันแต่ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากประธาน รัฐสภา วันออกเสียงประชามติให้กำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๗.๐๐ น. หลักเกณฑ์และวิธรการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

๑๔. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการออกเสียงประชามติ ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันออกเสียงประชามติ หากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็น ชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวัน เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้
แต่ถ้าพระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบด้วย และพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วไม่พระราชทานคืนมา สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องปรึกษาร่างรัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้าสภาร่างรัฐธรรมนูญยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้ง หนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบ วัน ให้ประธานรัฐสภานำรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

๑๕. สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ในกรณีดังต่อไปนี้
๑๕.๑ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสมาชิกเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
๑๕.๒ สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาหนึ่ง ร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก
๑๕.๓ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้
๑๕.๔ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญตกไป ในกรณีที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือในกรณีที่คะแนนการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ

๑๖. ถ้าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญตกไป หรือการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จ เพราะเหตุสภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ในกรณีจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของ จำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเสนอญัตติต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภามีมติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ตามความในหมวดนี้อีกได้ การออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบของรัฐสภา ต้องได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสอง สภา ในกรณีดังกล่าวบุคคลที่เคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดเดิมจะเป็นสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญอีกไม่ได้

๑๗. ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของสภาร่างรัฐธรรมนูญ รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาหาข้อมูล และกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของสภาผู้แทนราษฎร

๑๘. ให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนี้ใช้บังคับ และให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน ๙๙ คน ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น